ตำรวจ ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน
สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นข้าราชการตำรวจ หรือ ที่เรียกว่า “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นั้น บางคนอาจจะมองว่าอาชีพตำรวจนั้นเป็นอาชีพที่ได้ใส่เครื่องแบบ เทห์ สมาร์ท ได้จับโจรผู้กระทำความผิด หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าราชการ มีความมั่นคงสูง นั่นเป็นเพียงมุมมองด้านหนึ่ง ซึ่งไม่รอบด้าน ต้องอาศัยรุ่นพี่คอยให้คำแนะนำ เพราะการจะก้าวเข้ามาสู่การเป็น
“ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลำดับแรก ต้องมีใจรักในความเป็นตำรวจ ตำรวจต้องพบปะกับประชาชน ตำรวจต้องจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นความผิดตามกฎหมายจราจร อาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจ ก่นด่าตำรวจ
“ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลำดับแรก ต้องมีใจรักในความเป็นตำรวจ ตำรวจต้องพบปะกับประชาชน ตำรวจต้องจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นความผิดตามกฎหมายจราจร อาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจ ก่นด่าตำรวจ
เป็นจำนวนมาก อย่างนี้ ถ้าไม่มีใจรักแล้ว อยู่ยาก แต่ก่อนจะมาเป็นตำรวจได้นั้น น้อง ๆ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในความเป็นตำรวจก่อน ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไป
ตัวอย่างนี้เป็นข้าราชการตำรวจหญิงสังกัดกองปราบปราม
ความหมายของตำรวจ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 “ข้าราชการตํารวจ”หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสํานักงานตํารวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติซึ่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตํารวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
อำนาจหน้าที่ของตำรวจ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า
สํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีและมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินีพระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์ผู์แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ
(2) ดูแลควบคุมและกํากับการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(3) ป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดทางอาญา
(4) รักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของข้าราชการตํารวจหรือสํานักงานตํารวจแห้งชาติ
(6) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(7) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอํานาจ
เมื่อเห็นดั่งนี้แล้วก็ย่อมเข้าใจแล้วว่า ตำรวจเป็นข้าราชการหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีอำนาจตาม 6 ข้อที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ แต่ก่อนจะเข้ามาเป็นตำรวจ น้อง ๆ ต้องทราบว่า ตำรวจไทยนั้น มีจำนวนมากกว่า 2 แสนนาย ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีการกำหนดยศ กำหนดตำแหน่งไว้
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จะมียศตั้งแต่ พลตำรวจ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) สิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตำรวจเอก จ่าสิบตำรวจ และดาบตำรวจ
ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จะมียศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท ร้อยตำรวจเอก พันตำรวจตรี พันตำรวจโท พันตำรวจเอก พลตำรวจตรี พลตำรวจโท พลตำรวจเอก
สำหรับน้อง ๆ หรือผู้ปกครอง ที่สนใจจะให้บุตรหลานท่านเข้ารับราชการตำรวจ ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเปิดรับบุคคลภายนอกเข้าไปข้าราชการตำรวจ 2 ทางหลัก ๆ คือ
1. เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ กลุ่มนี้จะเปิดรับสมัครพร้อม ๆ กลุ่มทหารเหล่าต่าง ๆ คือทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ จะรับบุคคลชายอายุตั้งแต่ 14 – 17 ปี วุฒิการศึกษา ม.3 ยอดรับแต่ละปี ประมาณ 200 คน เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นระยะเวลา 3 ปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อีก 4 ปี สำเร็จการศึกษา ประดับยศ ว่าที่ร้อยตำรวจตรี เข้ารับราชการในสังกัดต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อไป
2. เป็นเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ กลุ่มนี้จะเปิดรับจำนวนมาก โดยจะเปิดรับสมัครประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายงานหลัก ๆ คือ งานป้องกันปราบปราม และงานอำนวยการและสนับสนุน
2. เป็นเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ กลุ่มนี้จะเปิดรับจำนวนมาก โดยจะเปิดรับสมัครประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายงานหลัก ๆ คือ งานป้องกันปราบปราม และงานอำนวยการและสนับสนุน
เพศชาย
วุฒิการศึกษา ม.6 หรือ ป.ว.ช.
อายุตั้งแต่ 18 – 27 ปีบริบูรณ์
ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ จบ รด.ปี 3
คุณสมบัติ สายงานอำนวยการหรือสนับสนุน
เพศชาย หรือ เพศหญิง
วุฒิการศึกษา ม.6 ป.ว.ช. หรือเทียบเท่า
อายุตั้งแต่ 18 – 35 ปีบริบูรณ์
เพศชาจต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ จบ รด.ปี 3
สำหรับการทดสอบ จะแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
1 ภาคความรู้ความสามารถ จะสอบในวิชา ดังต่อไปนี้
- ความสามารถทั่วไป
- ภาษาไทย
- ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
- จริยธรรมและกฎหมายที่ประชาชนควรรู้
2 ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย แบ่งเป็น
- วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 4 นาที 50 วินาที ถือว่าผ่าน
- ว่ายน้ำ ระยะทาง 25 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที ถือว่าผ่าน
- สอบสัมภาษณ์ จะเป็นกำรประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ที่จะแต่งตั้งจำกพฤติกรรมที่ปรากฏ ซึ่งก็จะมีแค่ ผ่าน กับ ไม่ผ่าน ส่วนมากคณะกรรมการจะไม่ให้ตกสัมภาษณ์ ยกเว้นแต่จะแบบว่าพูดจาไม่รู้เรื่อง หรืออย่างไรก็ตาม แต่ที่ผ่านมา มีไม่กี่รายที่ตกสัมภาษณ์
การตรวจร่างกายจากคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ที่ไม่เป็นโรคหรืออาการตำมที่กำหนดไว้ ถือว่า ผ่าน
อันนี้เป็นรายละเอียดอย่างคร่าว ๆ น้อง ๆ ต้องทำศึกษา ทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมาย ซึ่งบางครั้งน้อง ๆ ต้องปฏิบัติตัวเอง ไม่ให้ผิดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามสักผิวหนัก ห้ามเจาะหู เป็นต้น น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.policeadmission.com
เมื่อน้อง ๆ ผ่านการคัดเลือก โดยวิธีการสอบคัดเลือก น้อง ๆ ที่สอบคัดเลือกเข้ามาในสายงานป้องกันปราบปราม ต้องเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์ฝึกอบรมตามภาคต่าง ๆ ที่น้องสมัครเข้ามา เป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเงินเดือน ๆ ละ 1,360 บาท และเมื่ออบรมเสร็จเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง ยศสิบตำรวจตรี ณ หน่วยงานที่น้อง ๆ เลือกตามคะแนนการสอบวัดผลระหว่างการฝึกอบรม อัตราเงินเดือน 6,970 บาท มีเงินเพิ่มสำหรับสายงานป้องกันปราบปราม 3000 บาท และค่าครองชีพ สำหรับผู้มีเงินเดือนไม่เกิน 12280 บาท จำนวน 1500 ต่อเดือน รวม ๆ แล้วก็ถือว่าอยู่ในอย่างสมศักดิ์ศรี กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน